การทำโฆษณาบน Youtube เป็นอีกช่องทางที่ได้รับความนิยม เพราะช่วยสร้างการรับรู้และการจดจำได้ดี ซึ่งโฆษณาบน Youtube ก็มีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการซื้อโฆษณาในแต่ละครั้ง และสำหรับใครที่สนใจจะซื้อโฆษณาบน Youtube แต่ยังไม่รู้ว่ามีกี่แบบ และปรากฏอยู่ตรงไหนบ้าง ก็ตาม DIGITORY มาทำความรู้จักกันได้เลยค่ะ
รูปแบบโฆษณาบน Youtube มีดังต่อไปนี้
โฆษณาในสตรีม (In-stream ads)
- โฆษณาแบบข้ามได้ (Skippable ads)
เป็นโฆษณาที่จะปรากฏขึ้นก่อน ระหว่าง หรือหลังจากวีดีโออื่น ๆ ผู้ชมสามารถกดโฆษณาข้ามได้หลังผ่านไป 5 วินาที โดยโฆษณาสามารถแสดงบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และ Display Network ต่าง ๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ Google ได้
และมีการคิดค่าโฆษณาแบบ CPV (Cost Per View) เมื่อผู้ชมดูวิดีโอของคุณเป็นเวลา 30 วินาที หรือดูจนจบวิดีโอกรณีวิดีโอสั้นกว่า 30 วินาที หรือโต้ตอบกับวิดีโอของคุณ ขึ้นอยู่กับว่ากรณีใดเกิดขึ้นก่อน และคิดค่าโฆษณาแบบ CPM (Cost Per Thousand Impression) ตามการแสดงผลโฆษณา 1,000 ครั้ง เหมาะกับวัตถุประสงค์ เพิ่มโอกาสในการขาย การเข้าชมเว็บไซต์ การรับรู้และการเข้าถึงแบรนด์ การพิจารณาผลิตภัณฑ์และแบรนด์
- โฆษณาแบบข้ามไม่ได้ (Non-skippable ads)
โฆษณาในสตรีมแบบกดข้ามไม่ได้ ยาว 15 วินาที (หรือสั้นกว่า) โดยจะปรากฏก่อน ระหว่าง หรือหลังจากวิดีโออื่น ๆ โดยโฆษณาสามารถแสดงบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และ Display Network ต่าง ๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ Google ได้
มีการคิดค่าโฆษณาแบบ CPM (Cost Per Thousand Impression) ตามการแสดงผลโฆษณา 1,000 ครั้ง เหมาะสำหรับการสื่อสารที่ต้องการให้ผู้ชมเห็นข้อความทั้งหมดโดยไม่กดข้ามวิดีโอของคุณ ในวัตถุประสงค์การรับรู้และการเข้าถึงแบรนด์
- โฆษณาวีดีโอแบบ Discovery (Video discovery ads)
เป็นโฆษณาที่ประกอบด้วยภาพขนาดย่อจากวิดีโอพร้อมกับข้อความบางส่วน เพื่อดึงดูดให้ผู้ชมคลิกชมวีดีโอโฆษณานั้น โดยขนาดจะแตกต่างกันไปตามตำแหน่งที่แสดงผล โฆษณาแบบ discovery ads จะปรากฏในหน้าการค้นหาวีดีโอ (Search Results Page) และหน้าการชมวีดีโอที่เกี่ยวข้องใน Youtube รวมถึงหน้าโฮมของ Youtube สำหรับการแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือ
มีการคิดค่าโฆษณาแบบตามจริง โดยระบบจะเรียกเก็บเงินก็ต่อเมื่อผู้ชมเลือกที่จะดูโฆษณาของคุณโดยการคลิกที่ภาพขนาดย่อเท่านั้น เหมาะสำหรับวัตถุประสงค์การพิจารณาผลิตภัณฑ์และแบรนด์
- โฆษณาบัมเปอร์ (Bumper ads)
เป็นโฆษณาที่ไม่สามารถกดข้ามได้ โดยมีความยาวเพียง 6 วินาที (หรือสั้นกว่า) และจะปรากฏก่อน ระหว่าง หรือหลังจากวิดีโออื่น ๆ โดยผู้ชมสามารถกดลิงก์เพื่อเข้าสู่เว็บไซต์ หรือโฆษณาตัวเต็มได้ โฆษณาสามารถแสดงบนเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน และ Display Network ต่าง ๆ ที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ Google ได้
มีการคิดค่าโฆษณาแบบ CPM (Cost Per Thousand Impression) คำนวณตามการแสดงโฆษณา 1,000 ครั้ง เหมาะกับการโฆษณาที่ต้องการต้องการเข้าถึงผู้ชมในวงกว้างด้วยข้อความสั้น ๆ ที่น่าจดจำ ในวัตถุประสงค์การรับรู้และการเข้าถึงแบรนด์
โฆษณานอกสตรีม (Outstream ads)
เป็นโฆษณาที่จะแสดงผลเฉพาะโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตเท่านั้น โดยจะปรากฏบนเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ Google แต่จะไม่ปรากฏบน Youtube ซึ่งวีดีโอโฆษณาจะเล่นแบบปิดเสียงโดยอัตโนมัติ และผู้ชมสามารถกดเพื่อเปิดเสียงวีดีโอได้
มีการคิดค่าโฆษณาแบบ CPM (Cost Per Thousand Impression) หมายถึง คำนวณตามการแสดงโฆษณา 1,000 ครั้ง และจะคิดเฉพาะเมื่อมีคนเล่นวีดีโอเป็นเวลา 2 วินาทีขึ้นไป เหมาะกับการสร้างการรับรู้และการเข้าถึงแบรนด์
โฆษณา Masthead (Masthead ads)
เป็นโฆษณาแบบวีดีโอเด่นที่จะปรากฏอยู่ด้านบนหรือเป็นวีดีโอแรกในหน้าโฮม Youtube โดยจะวีดีโอจะเล่นอัตโนมัติแบบไม่มีเสียง ผู้ชมสามารถคลิกเปิดเสียงได้ ซึ่งโฆษณา Masthead จะใช้งานได้เฉพาะการจองผ่านตัวแทนฝ่ายขายของ Google เท่านั้น
เหมาะกับการสร้างการรับรู้และการเข้าถึงแบรนด์ เมื่อคุณมีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายขนาดใหญ่ในช่วงเวลาสั้น ๆ มีการคิดค่าโฆษณาแบบ CPD (Cost Per Day) หรือ CPM (Cost Per Thousand Impressions) โดยสามารถสอบถามได้จากทีมโฆษณาของ Google เพื่อทราบอัตราค่าโฆษณาโดยประมาณและเป้าหมายการแสดงผลของแคมเปญ
โฆษณาแบบไม่ใช่วีดีโอบน Youtube
- โฆษณาแบบดิสเพลย์ (Display ads)
เป็นโฆษณาแบบรูปภาพพร้อมข้อความสั้น ๆ ปรากฏอยู่ทางด้านขวาของวิดีโอเด่น และด้านบนของรายการวิดีโอที่แนะนำ
- โฆษณาซ้อนทับ (Overlay ads)
เป็นโฆษณาแบบรูปภาพขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้า จะปรากฏที่ด้านล่างของวิดีโอที่กำลังเล่นอยู่ซ้อนทับหน้าวีดีโอประมาณ 20% โดยจะแสดงผลเฉพาะบนเดสก์ท็อปเท่านั้น
- การ์ดผู้สนับสนุน (Sponsored cards)
เป็นโฆษณาที่จะแสดงเนื้อหาที่อาจเกี่ยวข้องกับวิดีโอที่คุณกำลังดูอยู่ หรือคุณอาจจะสนใจ โดยจะเห็นทีเซอร์ของการ์ดเป็นเวลา 2-3 วินาที และมีไอคอนที่มุมขวาบนของวีดีโอเพื่อเรียกดูการ์ดได้ด้วย
โฆษณาบน Youtube ถือเป็นอีกช่องทางในการทำการตลาดออนไลน์ที่น่าสนใจและมีรูปแบบให้เลือกหลากหลายมาก ๆ ซึ่งเราก็สามารถเลือกรูปแบบของโฆษณาบน Youtube ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการซื้อโฆษณาแต่ละครั้งมากขึ้น
สำหรับใครที่สนใจอยากลงโฆษณาบน Youtube แต่ยังไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือไม่รู้ว่าสินค้าและบริการของเราควรเลือกโฆษณาแบบไหน ก็สามารถปรึกษากับพาร์ทเนอร์ของ DIGITORY ได้ ที่นี่ เลยค่ะ
ถ้าไม่อยากพลาดข่าวสารการตลาดออนไลน์ อัพเดทเทรนด์ และโปรโมชันพิเศษ
ติดตาม LINE: @digitorystyle ได้เลย