TOWS Matrix คือ โมเดลวิเคราะห์แบรนด์หรือธุรกิจที่ต่อยอดมาจากกลยุทธ์ SWOT Analysis ด้วยการ Match หรือจับคู่องค์ประกอบระหว่างปัจจัยภายใน (Strength และ Weakness) และปัจจัยภายนอก (Opportunity และ Threat) เข้าด้วยกัน เพื่อยกระดับการวางแผนกลยุทธ์ให้มีความชัดเจน เนื้องานมีเป้าหมายที่เห็นภาพ ทีมจะเข้าใจและทำตามขั้นตอนที่คาดหวังไว้ได้อย่างถูกต้อง
TOWS Matrix มีส่วนประกอบตามตัวอักษรของคำว่า TOWS นั่นก็คือ
- T = Threats หรืออุปสรรค
- O = Opportunities หรือโอกาส
- W = Weaknesses หรือจุดอ่อน
- S = Strengths หรือจุดแข็ง
ซึ่งข้อดีของ TOWS Matrix จะทำให้ทีมวางแผนการทำงานได้ง่ายขึ้นมากกว่าเดิม สมาชิกในทีมมีการปรึกษาหารือกันมากขึ้น จนสามารถนำข้อมูลที่วิเคราะห์ร่วมกันมาปรับใช้กับจุดอ่อนให้แข็งแกร่งขึ้น ในขณะเดียวกัน จุดแข็งก็จะยิ่งแข็งแกร่งขึ้นไปอีก
TOWS Matrix และ SWOT ต่างกันอย่างไร
TOWS Matrix เป็นการกลับมาคำมาจาก SWOT Analysis ให้นักการตลาดได้รู้ว่าทั้ง 2 โมเดลนี้มีความเชื่อมโยงกันอยู่ ซึ่งหลักการของ TOWS Matrix จะต่อยอดมาจากโมเดลของ SWOT Analysis กล่าวคือ SWOT Analysis จะช่วยวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกขององค์กร รวมถึงวางแผน จัดเรียง รวบรวมข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้เห็นปัญหาหรือช่องโหว่และนำมาแก้ไขต่อไป ส่วน TOWS Matrix เป็นหลักการที่นำข้อมูลของ SWOT Analysis ทั้งหมดมาวิเคราะห์ต่อไป เพื่อเริ่มวางแผนในการสร้างกลยุทธ์นั่นเอง
TOWS Matrix มีกลยุทธ์อะไรบ้าง
อย่างที่เกริ่นมาว่า TOWS Matrix เป็นหลักการที่นำข้อมูลของ SWOT Analysis ทั้งหมดมาวิเคราะห์ เพื่อเริ่มวางแผนในการสร้างกลยุทธ์ โดยสามารถแบ่งกลยุทธ์ของ TOWS Matrix ออกมาเป็น 4 หัวข้อ ดังนี้
SO (Strength + Opportunity) หรือกลยุทธ์เชิงรุก
เป็นกลยุทธ์ที่นำเอาจุดแข็ง (Strength) และโอกาส (Opportunity) มารวมกัน ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 2 อย่างนี้ล้วนเป็นข้อได้เปรียบของธุรกิจ ที่อาจส่งผลต่อผลกำไรในทางที่ดีได้
ตัวอย่างกลยุทธ์เชิงรุก : นาย A เป็นเจ้าของธุรกิจสินค้าประเภทเสื้อผ้าวัยรุ่น ซึ่งกระแส Y2K กำลังกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งและในปัจจุบัน การออกแบบเสื้อผ้าให้สอดคล้องกับเทรนด์ จะสร้างผลกำไรให้แบรนด์ได้มากกว่าเดิม
WT (Weaknesses + Threats) หรือกลยุทธ์เชิงรับ
การรวมกันของจุดอ่อน (Weaknesses) และอุปสรรค (Opportunity) เป็นเสมือนกลยุทธ์ที่คอยรับมือกับปัญหาทางธุรกิจไม่ให้แย่ไปกว่านี้ หรือคอยพยุงผลลัพธ์ที่ได้ไม่ให้ขาดทุนมากไปกว่าเดิม
ตัวอย่างกลยุทธ์เชิงรับ : นาย B เปิดธุรกิจร้านอาหารริมทะเล ในขณะเดียวกัน รีสอร์ทหรูข้าง ๆ ได้เริ่มเปิดภัตตาคารอาหารนานาชาติ นาย B วิเคราะห์ว่าลูกค้าที่มาพักที่รีสอร์ทบางท่านอาจจะต้องการทานอาหารราคาประหยัดมากกว่า เมื่อคนมาพักเยอะขึ้น ร้านของเราก็จะเป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกด้วย
ST (Strength + Threats) หรือกลยุทธ์เชิงป้องกัน
เป็นกลยุทธ์ที่จุดแข็ง (Strength) และอุปสรรค (Threats) เชื่อมโยงกัน โดยจุดเด่นขององค์กรจะมาหักล้างกับอุปสรรคที่เกิดขึ้น
ตัวอย่างกลยุทธ์เชิงป้องกัน : นาย E ผู้ทำธุรกิจค้าขายน้ำผลไม้ทาง Facebook Page ได้เปิดตัวสินค้ารสชาติใหม่ นาย G ต้องการจะเพิ่มช่องทางการขายเฉพาะน้ำผลไม้รสชาติใหม่นี้ แต่นาย E ยืนยันจะขายในช่องทางเดิม เพื่อเป็นการตัดคู่แข่งนั่นเอง
WO (Weaknesses + Opportunity) หรือกลยุทธ์เชิงแก้ไข
เป็นการวิเคราะห์โอกาส (Opportunity) ที่มาลดจุดอ่อน (Weaknesses) ของธุรกิจให้อยู่รอดปลอดภัย ซึ่งกลยุทธ์นี้ต้องอาศัยความรู้ด้านการตลาดควบคู่ไปด้วย
….
ทุก ๆ ธุรกิจที่นักการตลาดต้องการจะลงทุน การวางแผนกลยุทธ์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก ไม่เพียงแต่ SWOT Analysis เท่านั้น การวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลโดย TOWS Matrix จะทำให้เห็นรายละเอียดอย่างลึกซึ้งมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจเกิดความผิดพลาดน้อยลง ดังนั้น หากนักการตลาดทุกคนใช้โมเดล TOWS Matrix ก็จะทำงานได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง