เมื่อพูดถึงการช้อปปิ้งแล้ว เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงพอจะทราบกันมาบ้าง ว่าคนไทยติดอันดับต้น ๆ ของเรื่องการช้อปปิ้งออนไลน์ โดยเฉพาะช่วงปีหลังมานี้ ที่มีสถานการณ์การแพร่เชื้อระบาด ของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบ ต่อความเครียดต่อคนไทย แต่ในกลับกัน กลับทำให้ตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ ในไทยมีอัตราการซื้อขายสูงขึ้น อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่งในปัจจุบัน ตลาดการช้อปปิ้งออนไลน์ ถือว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าจับตามองเป็นอย่างมาก วันนี้เราจึงพามา เปิด พฤติกรรมนักช้อป ออนไลน์ของคนไทย ปี 2022 ว่ามีประเด็นใดบ้าง ที่ธุรกิจจะสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคหรือนักช้อปทั้งหลาย เกิดความพึงพอใจในสินค้าของเราได้
การโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค
จากผลสำรวจ Nielsen Ad Intel พบว่า การโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล เป็นช่องทางที่นักช้อปให้ความเชื่อถือและวางไว้ใจ โดย 41% รับรู้ถึงผลิตภัณฑ์ และเกิดการพิจารณาที่จะซื้อสินค้า ที่เห็นจากโฆษณา และอีก 38% มีการซื้อสินค้าทันทีหลังจากเห็นโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า การโฆษณาบนช่องทางต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ดังนั้นแบรนด์ต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ และต้องทำการบ้านอย่างหนัก เพราะก็มีคู่แข่งที่มากเช่นเดียวกัน
ผู้บริโภคซื้อสินค้าบนโลกออนไลน์มากที่สุด บนแพลตฟอร์ม E-Marketplace
แพลตฟอร์ม E-Marketplace อย่างเช่น Shopee หรือ Lazada เข้ามามีบทบาทกับคนไทยอย่างมากในช่วงนี้ ไม่ว่าใคร จะมีพฤติกรรม หรือไลฟ์สไตล์ ที่แตกต่างกันแค่ไหน ก็ต้องหันมาซื้อสินค้าบนนี้ เนื่องจากมีผู้ขายมากราย ทำให้สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ตรงตามความต้องการ รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งาน เช่น สามารถสินค้าได้ด้วยตนเอง, เลือกช่องทางชำระเงินได้หลากหลาย, ไม่ต้องคอยให้ผู้ขายมาตอบ รวมทั้งยังมีโปรโมชั่นต่าง ๆ มาล่อตา ล่อใจ นักช้อปอยู่เสมอ
ความรวดเร็ว และประสบการณ์การในการช้อปปิ้งเป็นสิ่งที่สำคัญ
พฤติกรรมนักช้อป ออนไลน์ในยุคปัจจุบัน ชอบสิ่งที่รวดเร็ว ทันใจ ราบรื่น ในทุกช่วงของการช้อป ตั้งแต่การเลือกสินค้า ที่ต้องการรายละเอียดที่ครบถ้วน แต่สามารถอ่านได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ, การชำระเงินที่สะดวก และรวดเร็ว ไปจนถึงการขนส่งสินค้า ซึ่งโดยปัจจุบันนั้นระยะเวลาในการส่งสินค้า เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักในการพิจารณาซื้อสินค้า เพราะลูกค้าบางคน ต้องการให้สินค้าถึงมือโดยรวดเร็ว อย่างร้านค้าบางร้าน ก็มีการปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมนี้ ด้วยการมีบริการส่งทันที ด้วย Messenger นั่นเอง
นักช้อป ชอบความตรงไปตรงมา และความจริงใจ
การซื้อสินค้า และบริการในโลกออนไลน์ เป็นระบบที่ค่อนข้างเปิดกว้าง ในด้านของการโฆษณา รวมถึงการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ หากเป็นการขายแบบออฟไลน์ เมื่อลูกค้าท่านใดท่านหนึ่ง ไม่ชอบสินค้าเรา เราอาจจะรับมือได้ง่าย เพราะเผชิญหน้ากันโดยตรง แต่หากเป็นการขายแบบออนไลน์ หากสินค้าเรามีคุณภาพที่ไม่ดี ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่พอใจกับสินค้าที่ซื้อไป อาจทำให้เกิดการรีวิวในทางลบ และการรีวิวนี้ ก็ส่งผลทำให้ร้านค้าอาจเสียลูกค้าท่านอื่นไปด้วย แต่ในทางกลับกัน หากเรามีความจริงใจ ขายสินค้าที่มีคุณภาพ ในราคาที่สมเหตุสมผล ไม่หลอกลวง หรือโฆษณาเกินจริง สิ่งนี้ก็จะทำให้มีรีวิวในแง่บวกเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ และทำให้นักช้อปที่เห็นรีวิวนี้ เกิดความสนใจ และซื้อตามจากการรีวิวได้ในที่สุด
อัตราการช้อปปิ้งออนไลน์ ยังคงมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ
การที่ตลาดช้อปปิ้งออนไลน์ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการแพร่เชื้อระบาดของโควิด-19 ก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าถ้า โควิด-19 หายไป ตลาดช้อปปิ้งออนไลน์จะซบเซาลง เพราะจากข้อมูลพบว่า คนไทยมองว่า การช้อปปิ้งออนไลน์ จะเป็นสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญมากขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ ความสะดวกสบาย ความคุ้มค่า ในการช้อป รวมถึงยังมีสินค้าให้เลือกซื้ออย่างครบถ้วน อย่างสินค้าที่ไม่คิดว่าจะมีขายในออนไลน์ ทุกวันนี้ก็หาเจอได้ง่าย ๆ บนออนไลน์
จากทั้งหมดที่เราได้สรุปมานั้น จะเห็นได้ว่า การช้อปปิ้งออนไลน์ มีบทบาทกับคนไทยเป็นอย่างมาก นี่ถือเป็นโอกาสที่ดี ในการที่ธุรกิจจะหันมาขายสินค้า หรือพัฒนาการขายบนช่องทางนี้ แต่ก็อย่าลืมว่าพฤติกรรมผู้บริโภค เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ดังนั้นควรศึกษาข้อมูล และพัฒนาอยู่เสมอ เพื่อสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งที่ดีให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณนั่นเอง
อ้างอิง :
https://www.tcijthai.com/news/2021/7/scoop/11763
https://www.brandbuffet.in.th/2022/03/thais-consumer-habits-shifted-from-offline-to-online-shopping/
https://www.brandbuffet.in.th/2021/06/thailand-future-shopper-2021-online-physical-shop-d2c-trends/